หน้าเว็บ

29/3/58

การวัดขนาดและส่วนต่างๆของปลา

              เมื่อกล่าวถึงการวัดขนาด ทุกคนมักเข้าใจถึงการวัดเฉพาะความยาวและความกว้างเท่านั้นซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ทุกๆ ส่วนภายในร่างกายของปลานั้นสามารถนำมาวัดได้ทั้งสิ้น เช่น ความยาวของส่วนหัว ความสูงของก้านครีบ ความกว้างของตา ความยาวของกระดูกขากรรไกร เป็นต้น แต่ในการวัดความยาวบางครั้งสามารถนำมาเปรียบเทียบระหว่าสองสิ่งได้ จึงต้องมีการวัดความยาวของอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้ออกมาเป็นอัตราส่วน เช่น เส้นผ่าศูนย์กลางของตาปลาเปรีบยเทียบกับความยาวของส่วนหัว เป็นต้น


              อุปรณ์ที่ใช้ในการวัดขนาด ใช้ไม้บรรทัดวัดปลา โดยบางครั้งอาจต้องใช้คาลิปเปอร์ช่วยด้วย หน่วยที่ใช้ในการวัด คือ ิลลิเมตรสำหรับปลาขนาดเล็ก และเซ็นติเมตรหรือเมตรสำหรับปลาขนาดใหญ่

การวัดขนาดของปลา แบ่งออกได้ดังนี้
              1. การวัดความยาวทั้งสิ้นหรือความยาวเหยียด (total length, TL) หมายถึง การวัดความยาวเป็นเส้นตรงจากส่วนปลายสุดของจงอยปาจนถึงส่วนปลายสุดของครีบหาง
              2. การวัดความยาวมาตรฐาน (standard length, SL) หมายถึง การวัดความยาวเส้นตรงจากส่วนปลายสุดของจงอยปากจนถึงฐานครีบหาง ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของกระดูก Hypural plate ทราบได้โดยการงอส่วนหางของปลาขึ้น รอยหักบริเวณคอดหางถือเป็นส่วนสุดท้ายของกระดูกชิ้นนี้
              3. การวัดความยาวถึงส่วนหยักลึกของหาง (fork length, FL) หมายถึง การวัดความยาวเป็นเส้นตรงจากปลายสุดของจงอยปากจนถึงส่วนหยักลึกของหางปลาที่มีลักษณะเป็นรูปส้อม
              4. การวัดความลึก (body depht, BD) หมายถึงการวัดเป็นแนวดิ่งลงมาเป็นเส้นตรงจากส่วนบนสุดของตัวปลาเมื่อหุบครีบแล้ว จนถึงส่วนท้องของปลา
              5. การวัดความกว้าง (body width, BD) หมายถึงการวัดระยะทางจากด้านข้างด้านใดด้านหนึ่ง ไปจนถึงด้านข้างอีกด้านหนึ่ง

              สาเหตุที่มีการวัดปลาหลายๆ แบบนั้น เนื่องจากปลามีรูปทรงต่างๆ กันมากมาย จึงต้องใช้การวัดในแบบต่างๆ ไม่เหมือนกัน เพื่ใช้ในการเปรียบเทียบและหาข้อมูลทางสถิติ อันเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ชนิดและประโยชน์ทางด้านการประมง

              นอกจากการวัดดังล่าวแล้ว ยังมีการวัดความยาวในส่วนของโครงสร้างอื่นๆ ด้วย เช่น ความสูงของก้านครีบ ความยาวของหัว ความยาวของฐานครีบ ความยาวของครีบ เส้นผ่าศูนย์กลางของตา ความยาวของหนาว เป็นต้น

              การวัดสัดส่วนของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของปลา ด้วยการวัดขนาดของโครงสร้างนั้นๆ แล้วนำมาเทียบกับส่วนอื่นของปลาที่ใหญ่กว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นที่ที่อวัยวะนั้นๆ ตั้งอยู่ เช่น การวัดส่วนหัวของปลาเทียบกับความยาวเหยียด (head in total length) การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของตาเทียบกับความยาวของหัว (eye in head) หรือความลึกของปลากับความยาวเหยียด (depth in total length) เป็นต้น สมมติว่าปลาตัวหนึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางของตาวัดได้ 10 มิลลิเมตร ส่วนหัววัดได้ 60 มิิลลิเมตร แสดงว่า ปลาตัวนี้หัวยาวเป็น 6 เท่าของตา ซึ่งในคู่มือการวิเคราะห์ปลาที่เป็นภาษาอังกฤษจะเขียนว่า "eye 6 in head" อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ถ้าวัดความยาวหัวปลาได้ 50 มิลลิเมตรและวัดความยาวเหยียดของปลาได้ 200 มิลลิเมตร แสดงว่า หัวของปลาตัวนี้ยาวเป็น 1 ใน 4 ของความยาวั้งสิ้นของตัวปลา