หน้าเว็บ

21/5/55

เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกับวิธีการรับมือภัยแล้ง


                จากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนจะแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้อาการร้อนถึงร้อนจัด ในบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูง 40-42 องศาเซลเซียส ซึ่งมีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงปลาในกระชัง และการเลี้ยงปลาในบ่อดิน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศร้อนเนื่องจากอุณหภูมิและคุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงทำให้ปลาปรับตัวไม่ทันเกิดความเครียด อ่อนแอ และตายในที่สุด เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยง โดยปล่อยสัตว์น้ำในปริมาณที่น้อยลงกว่าปกติ เพื่อไม่ให้ปลาเกิดความเครียดในสภาวะน้ำน้อย ถ้าเป็นการเลี้ยงในกระชังให้เลือกทำเลที่มีน้ำไหลผ่านสะดวกโดยระดับน้ำจุดที่วางกระชังไม่ควรต่ำกว่า 2 เมตร และหมั่นสังเกตระดับน้ำในแม่น้ำ
ตรวจคุณสมบัติของน้ำอย่างสมำเสมอ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัยแล้งให้เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงหน้าแล้งที่มาถึงโดยปฏิบัติดังนี้
                 1. จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดออกจำหน่ายก่อน เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำในบ่อหรือกระชัง
                 2. ลดปริมาณการสูญเสียของน้ำให้น้อยที่สุด โดยการอุดรอยรั่วซึมของบ่อ หรือเพิ่มร่มเงาให้กับบ่อหรือกระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ
                 3. ลดปริมาณการให้อาหารสัตว์น้ำลง โดยเฉพาะหารสดเพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย
                 4. งดการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำในบ่อหรือกระชัง เพราะจะทำให้เลนก้นบ่อหรือแม่น้ำฟุ้งกระจาย ประกอบกับอุณหภูมิน้ำที่ผิวน้ำสูงกว่าใต้น้ำ จะเป็นโทษกับสัตว์น้ำอย่างมาก
                 5. ถ้าต้องปล่อยสัตว์น้ำลงเลี้ยง ให้ปล่อยในปริมาณที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าฤดูอื่น หรือปล่อยสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดช่วงระยะเวลาการเลี้ยงให้น้อยลง
                 6. หมั่นสังเกตอาการต่างๆ ของสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติจะได้แก้ไขได้ทันที
                  สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำในช่วงฤดูแล้งนี้ แนวทางที่ดีที่สุดก็คือผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตและดูแลเอาใจใส่สัตว์น้ำอย่างใกล้ชิดว่าไหมครับ