หน้าเว็บ

24/4/58

รูปทรงของปลา


               รูปทรงของปลาสามารถจำแนกออกได้หลายแบบดังนี้
               1. รูปทรงแบบกระสวย (fusiform, topedo, shaped)
                   มีลักษณะแหลมหัวแหลมท้ายคล้ายกระสวยด้ายทอผ้า ทางส่วนหน้าจะมีความหนาแล้วค่อยๆ เรียวเล็กไปทางส่วนท้ายเพื่อให้ต้านน้ำน้อยลง ถ้ามองทางด้านหน้าตัดแล้วตัดออกเป็นแว่นๆ (cross-section) จะเป็นรูวงรีเล็็กน้อย โดยทางส่วนหน้าจะมีขนาดใหญ่แล้วค่อยๆ เล็กลงจนถึงคอดหางจะมีขนาดเล็กที่สุด ปลากลุ่มนี้ว่ายน้ำรวดเร็ว อาศัยในน้ำที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น ปลาทู ปลาโอ และปลาฉลาม

               2. รูปทรงแบบลูกธนู (sagittiform, arrow-llike shaped)
                   มีส่วนของลำตัวยาวกว่าแบบกระสวย และมองทางด้านหน้าตัดจะมีความแบนกว่าเล็กน้อย มีครีบค่อนข้างยาวหรือบางชนิดครีบอาจจะอยู่ทางส่วนท้ายของลำตัว อาศัยในน้ำที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น ปลาเข็ม ปลากระทุงเหว และปลาน้ำดอกไม้
               3. รูปทรงแบบงู (anguilliform, serpentine, snake shaped)
                   มีรูปร่างยาวเหมือนงู เมื่อมองจากด้านหน้าตัดทางส่วนหน้าจะมีลักษณะกลมแล้วค่อยๆ เรียวลงไปจนสุดปลายหาง จะแบนทางด้านข้าง ปลากลุ่มนี้เคลื่อนที่โดยใช้การเลื้อยไปตามกอพืชหรือซากปะการัง อาจจะมีการเคลื่อนที่เหมือนการสั่นของเส้นเชือก โดยส่วนหางจะมีการสั้นน้อยที่สุด เช่น ปลาไหลชนิดต่างๆ
               4. รูปทรงแบบแถบแบนยาว (taeniform, trachypteriform, ribbon shaped)
                   มีลักษณะเป็นแบบแถบแบนยาวคล้ายกับริบบิ้น เมื่อมองทางด้านหน้าตัดจะเห็นว่าแบนข้างมาก ปลากลุ่มนี้ว่ายน้ำไม่เก่งแต่อาศัยการเลื้อยและการเลี้ยวเบน เช่น ปลาดาบลาว ปลาดาบเงิน และปลาแถบ
               5. รูปทรงแบนข้าง (compressiform)
                   ปลากลุ่มนี้มีลัษณะลำตัวแบนข้างเหมือนถูกบีบ เมื่อมองทางด้านหน้าตัดจะมีลำตัวบางแคบ แต่ถ้ามองทางด้านข้างสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ
                   5.1 แบบรูปป้อม (bream type) รูปทรงคล้ายยรูปไข่ อาศัยตามพื้นน้ำ กอพืชน้ำ ปะการัง เช่น ปลากระดี่ ปลาผีเสื้อ
                   5.2 แบบเหลี่ยม (moonfish type) มีลักษณะเป็นเหลี่ยมๆ ได้แก่ ปลาพระจันทร์ ปลาโฉมงาม
                   5.3 แบบลิ้นหมา (pleuronectiid type) เป็นนลักษณะที่เอาด้านข้างลงไปนอนกับพื้นแล้ววิวัฒนาการเอาส่วนของตาขึ้นมาอยู่บนข้างเดียวกัน ได้แก่ ปลาลิ้นหมา ปลาลิ้นควาย ปลาซีกเดียว ปลาช่างชุน
               6. รูปทรงแบนลง (depressiform, flattened)
                   มีลักษณะลำตัวแบนจากบนลงล่างเหมือนถูกของหนักทับ พวกนี้ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล เช่น ปลาฉนาก ปลากะเบน ปลากบ ปลาช้างเหยียบ
               7. รูปทรงกลม (globiform)
                   มีรูปร่างกลมค้ายลูกบอล ลำตัวสั้น ว่ายน้ำช้า ใช้หางเป็นหางเสือช่วยในการเคลื่อนที่ไปตามทิศทางที่ต้องการ บางครั้งพองตัวกลับเอาด้านท้องลอยน้ำ เช่น ปลาปักเป้า ปลาอุบ
               8. รูปทรงแบบเส้นด้าย (filiform, thread-like)
                   มีลำตัวยาวคล้ายเส้นด้าย พบในน้ำไหลทะเลลึก
นอกจากนี้ยังมีการจัดรูปทรงของปลาโดยใช้การวัดเทียบสัดส่วน (morphometry) ระหว่างความยาวและความลึกของปลา ดังนี้
               1. ปลาที่มีความยาว(elongate) เป็นลักษณะรูปทรงที่มีความยาวต่อความลึกของลำตัวปลามากกว่า 4 เท่า เช่น ปลาตาบลาว ปลาดาบเงิน ปลาไหล
               2. ปลาที่มีลำตัวป้อม(oblong) เป็นลักษณะของรูปทรงที่มีความยาวต่อความลึกของตัวปลาระหว่าง 2 ถึง 4 เท่าโดยประมาณ เช่น ปลาสีกุน ปลาใบขนุน ปลาลิ้นหมา
               3. ปลาที่มีลำตัวกลม(ovate) เป็นลักษณะของปลาที่มีรูปทรงที่ค่อนข้างกลม โดยมีความยาวต่อความลึกของลำตัวปลาน้อยกว่าประมาณ 2 เท่า เช่น ปลาจาระเม็ด ปลาแป้น